Welcome to T.H.N-Guidance ยินดีต้อนรับสู่...งานแนะแนวโรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ท่านคิดว่ากิจกรรมแนะแนวมีความสำคัญอย่างไร ?

  แนวคิดหลักสาระสำคัญของการแนะแนว 
          การแนะแนวช่วยให้บุคคลรู้จักตัวเอง รู้จักโลกรอบตัว ด้วยกลวิธีและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตัดสินใจด้วยตนเองอย่างเหมาะสมและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ความหมายของกิจกรรมแนะแนว
         การแนะแนวหมายถึง กระบวนการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อมสามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆได้
 ปรัชญาของการแนะแนว
           การแนะแนวยึดหลักปรัชญาต่อไปนี้
1.      บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกาย   สังคม   อารมณ์    สติปัญญา    ความสนใจ    ความสามารถ         ความถนัดและเจตคติ
2.      บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีศักยภาพแฝงอยู่ในตน ควรพัฒนาให้เจริญขึ้นทุกด้าน
3.      บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปด้วยดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย
 และสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
4
.      พฤติกรรมทุกอย่างของบุคคลย่อมมีสาเหตุ
 การที่บุคคลแสดงออกอย่างใดหรือเป็นเช่นไร
ย่อมเกิดจากตนเองและสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุ

5.      บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและต้องการการยอมรับซึ่งกันและกัน
6.      ธรรมชาติของคนอยู่รวมกันเป็นสังคม จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
  ท่านทราบไหมว่า การแนะแนว มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างไร ?
              เหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว
1.   เด็กต้องเผชิญสิ่งแวดล้อมใหม่ในโรงเรียน ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ
2.   เด็กกำลังพัฒนาในทุกด้าน ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน
3.   สภาพสังคมและเศรษฐกิจทำให้นักเรียนและผู้ปกครองห่างเหินกัน
4.   สภาพแวดล้อมทางสังคมทำให้นักเรียนเกิดความสับสน
5.   นักเรียนต้องดิ้นรนเพื่อการเรียนและการเตรียมตัวในอาชีพมากขึ้น ฯลฯ
                  
                 
 การพัฒนากิจกรรมแนะแนวตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดไว้ ดังนี้
              มาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
    
              มาตรา 24 ระบุว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ  ดังต่อไปนี้
(๑)   จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
        โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

(๒)   ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อ 
        ป้องกัน  และแก้ไขปัญหา
(๓)  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น
        รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

(๔)  จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝัง
       คุณธรรม    ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความ
       สะดวกเพื่อ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่ง
       ของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและ
       แหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖)   จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้
       ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ                            
หลักการของการแนะแนว
1.   การแนะแนวควรจัดขึ้นเพื่อนักเรียนทุกคน
2.   การแนะแนวควรจะเป็นการช่วยให้นักเรียนสามรถนำตนเองได้
3.   การแนะแนวจะต้องมีข้อมูลของนักเรียนในด้านต่างๆตรงตามข้อเท็จจริงและเป็นปัจจุบัน
4.   การแนะแนวจะต้องจัดอย่างต่อเนื่อง
5.   การจัดการแนะแนวจะต้องมีการประสานงาน และร่วมมือในระหว่างบุคลากรทุกคนที่      
    เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน
6.   การแนะแนวจะต้องทำควบคู่กันไปกับการจัดการเรียนการสอน
7.   การแนะแนวควรจัดบริการต่างๆให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและ
    สังคม

  การแนะแนวมีเป้าหมายและขอบข่ายอย่างไร ?                                                
  การแนะแนวมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ตัวเด็ก โดยเน้นที่
1.   การป้องกันปัญหา
2.   การแก้ปัญหา
3.   การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน
ขอบข่ายของการแนะแนว
          การแนะแนวมีขอบข่ายงาน 5 บริการ ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่อง โรงเรียนที่จะดำเนินงานแนะแนวอย่างได้ผลต้องจัดให้มีงานต่างๆครบทั้ง 5 บริการ คือ
1.   บริการเก็บรวมรวมข้อมูล(Individual Inventory Service)
2.   บริการสนเทศ (Information Service)
3.   บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service)
4.   บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
5.   บริการติดตามและประเมินผล (Follow-up and Evaluation 
การดำเนินงานแนะแนวทั้ง 5 บริการดังกล่าว จะต้องครอบคลุม    การแนะแนวด้านการศึกษา 
ด้านอาชีพ      และด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ


ลักษณะของการพัฒนากิจกรรมแนะแนว
          โรงเรียนสามารถพัฒนากิจกรรมแนะแนวได้ 5 ลักษณะ ดังนี้
  
           1. ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน โดยไม่ทำให้จุดประสงค์ เนื้อหา คาบเวลาเรียนเปลี่ยนไป
           2. ปรับรายละเอียดของเนื้อหา ด้วยการเพิ่ม ลดหรือปรับรายละเอียดของเนื้อหา โดยไม่ทำให้จุดประสงค์และคาบเวลาเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากหลักสูตรแม่บท
           3. พัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยการเพิ่มเติม ตัดทอนสื่อต่างๆ      ที่มีอยู่ เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน สอดคล้องกับจุดประสงค์และ    เนื้อหาที่หลักสูตรกำหนด
           4. จัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ โดยจัดทำหนังสือเรียน คู่มือครู หนังสือเสริมประสบการณ์ แบบฝึกหัดและเอกสารประกอบการเรียนการสอนให้   สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และสภาพของผู้เรียน
           5. จัดทำคำอธิบายรายวิชาขึ้นใหม่ เป็นการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว)ด้วยการจัดทำคำอธิบาย หรือทำรายวิชาเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในหลักสูตร